สัตว์ป่าคุ้มครอง
จากที่ครั้งที่แล้วที่ได้นำเสนอเรื่องสัตว์ป่าสงวน ซึ่งทุกวันนี้ก็ค่อนข้างที่จะหายากหรืออาจสูญพันธุ์แล้ว จขกท. ก็ขอลงเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ป่าคุ้มครองซึ่งก็เป็นสัตว์ที่หายากเช่นเดียวกันค่ะ
สัตว์ป่าคุ้มครอง คืออะไร
สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ตามบัญชีแนบท้าย กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535

สัตว์ป่าคุ้มครอง แบ่งตามประเภท
·         สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 201 ชนิด
·         นก จำนวน 952 ชนิด
·         สัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 91 ชนิด
·         สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 12 ชนิด
·         ปลา จำนวน 14 ชนิด
·         แมลง จำนวน 20 ชนิด
·         สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ จำนวน 12 ชนิด
รวมๆแล้วจะมีด้วยกัน 1302 ชนิดด้วยกันค่ะ
เนื่องจากมีจำนวนเยอะมาก ก็จะขอลงครั้งละ 10 ชนิด ก็แล้วกันค่ะ เนื่องจากเนื้อหาที่เยอะพอสมควร๑ กระจงควาย (Tragulus napu) 
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
กระจงควาย หรือ กระจงใหญ่ (อังกฤษ: Greater mouse-deer, Napu) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulus napuอยู่ในวงศ์ Tragulidae
มีขาเล็กเรียว ซึ่งมีนิ้วเท้าข้างละ 4 นิ้ว ทั้งตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา แต่ตัวผู้จะมีเขี้ยวบนยาวเลยริมฝีปากบนลงมา เมื่อโตเต็มวัยมีน้ำหนักตัวประมาณ 5 กิโลกรัม ขนบนตัวสีน้ำตาลออกเทา มีจุดสีเข้มกว่ากระจายอยู่ทั่วไป ที่ใต้คอและบนหน้าอกมีลายพาดตามยาวสีขาว 5 ลาย ด้านใต้ท้องสีขาว หางค่อนข้างสั้นสีน้ำตาลอ่อนด้านบนและสีขาวด้านล่าง
ปกติชอบอยู่โดดเดี่ยว นอกจากในฤดูผสมพันธุ์จึงจะอยู่เป็นคู่ ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้แก่ หญ้าอ่อน ๆ, ผลไม้, ยอดไม้ และใบไม้อ่อน ในเวลากลางวันจะหลบพักนอนตามหลืบหินและโพรงไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว แต่บางครั้งก็พบออกลูกแฝด ระยะตั้งท้องนานประมาณ 5-6 เดือน
พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า, เทือกเขาตะนาวศรี ไปจนถึงแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ภาคตะวันออกของไทยไปจนถึงตอนใต้ของกัมพูชาและเวียดนาม จัดเป็นกระจงอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทยนอกจาก กระจงเล็ก (T. javanicus) ที่มีขนาดตัวเล็กกว่า โดยมักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ บางครั้งยังอาจพบได้ที่พื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุหรือป่าชายเลนได้อีกด้วย
๒ กระจงเล็ก (Tragulus javanicus)
กระจงเล็ก หรือ กระจงหนู (อังกฤษ: Lesser mouse-deer) เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคู่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าTragulus javanicus จัดเป็นสัตว์กีบคู่ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก รูปร่างหน้าตาคล้ายเก้งหรือกวาง แต่จะต่างกันตรงกระจงหนูจะไม่มีต่อมน้ำตา ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดงบริเวณหน้าอก และใต้ท้องมีแถบสีขาว 3 เส้นขนานไปกับลำตัว ไม่มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่จะมีเขี้ยวงอกมาจากริมฝีปาก โดยเขี้ยวของตัวผู้จะยาวกว่าตัวเมีย
มีความยาวลำตัวและหัว 40-48 เซนติเมตร ความยาวหาง 65-80 เซนติเมตร น้ำหนัก 0.7-2 กิโลกรัม
มีการกระจายพันธุ์ในพม่า ไทย ภาคใต้ของลาว กัมพูชา เวียดนาม เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียวและเกาะชวา
มีพฤติกรรมหากินตามลำพัง สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่หลากหลายได้ มักอาศัยและหากินในบริเวณป่าที่รกชัฏ ในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนอาจจะอาศัยเป็นคู่ ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน โดยมีทางเดินหาอาหารของตัวเอง ซึ่งเรียกว่า "ด่าน" ซึ่งด่านเป็นเพียงทางเดินเล็ก ๆ ปกคลุมด้วยไม้พื้นล่างที่รกทึบ มีนิสัยขี้อายและตื่นตกใจง่าย เมื่อพบศัตรูจะกระโดดหนีไปด้วยความรวดเร็ว มีฤดูผสมพันธุ์ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ก่อนผสมพันธุ์ตัวเมียจะใช้ขาหลังเคาะที่พื้นราว 8 ที ในเวลา 3 วินาที เมื่อตัวผู้ได้ยินเสียงจะเข้ามาหา ใช้เวลาในการตั้งท้องประมาณ 140 วัน ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ในช่วงปลายฤดูฝนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์


 กระต่ายป่า (Lepus pequensis)
กระต่ายป่า (อังกฤษ: Burmese hare) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Leporidae ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepus peguensis มีลักษณะเด่นคือ มีหูยาว สามารถมองเห็นได้แต่ไกล มีขนขึ้นบริเวณกระพุ้งแก้มและมีฟันหน้าของขากรรไกรบน 4 ซี่ เรียงซ้อนกัน 2 คู่ ฟันคู่หลังเล็กกว่าคู่หน้า ขาคู่หลังยาวกว่าขาคู่หน้า เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ใต้ผ่าเท้ามีขนปกคลุมหนาแน่นช่วยให้เคลื่อนไหวได้โดยไม่มีเสียง หางสั้นเป็นกระจุก ขนบริเวณหลังเป็นสีน้ำตาลปนเทา ปลายขนมีสีน้ำตาลเข้ม มีความยาวลำตัวและหัว 44-50 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.5-8.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.35-7 กิโลกรัม
มีการกระจายพันธุ์ในพม่า, ไทย, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา ชอบอาศัยในป่าโปร่ง, ป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ ออกหากินในเวลากลางคืนตามพงหญ้าที่รกชัฏ ออกหากินตามลำพังในอาณาบริเวณของตัวเอง มี หญ้า เป็นอาหารหลัก ยอดไม้ หรือผลไม้ที่ร่วงจากต้นเป็นอาหารเสริม ในบางครั้งอาจแทะเขากวางที่ผลัดทิ้งเพื่อเพิ่มแคลเซียมด้วย กระต่ายป่าตัวผู้มักต่อสู้เพื่อแย่งชิงตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์ด้วยการกระโดดถีบหรือกัดด้วยความรุนแรง
กระต่ายป่าตัวเมียใช้เวลาตั้งท้อง 35-40 วัน ออกลูกครั้งละ 1-7 ตัว โดยการขุดโพรงใต้ดินอยู่ ลูกกระต่ายป่าที่เกิดใหม่จะขนปกคลุมตัว และลืมตาได้เลย
 กระทิงหรือเมย (Bos gaurus) 
มีขนยาว ตัวสีดำหรือดำแกมน้ำตาล เว้นแต่ที่ตรงหน้าผากและครึ่งล่างของขาทั้ง 4 เป็นสีขาวเทา ๆ หรือเหลืองอย่างสีทอง เรีบกว่า "หน้าโพ" ขาทั้ง 4 ข้างตั้งแต่เหนือเข่าลงไปถึงกีบเท้ามีสีขาวเทาหรือเหลืองทอง ทำให้มองดูเหมือนสวมถุงเท้า สีขนของกระทิงบริเวณหน้าผากและถุงเท้าเกิดจากคราบน้ำมันในเหงื่อซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ชนิดนี้ คอสั้น และมีพืม (เหนียงคอ) ห้อยยาวลงมาจากใต้คอ เขามีสีเขียวเข้ม ปลายเขามีสีดบริเวณโคนเขามีรอยย่นซึ่งรอยนี้จะมีมากขึ้นเมื่อสูงวัยขึ้น
กระทิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ลูกที่เกิดขึ้นจะมีสีน้ำตาลแกมแดงเหมือนสีขนของเก้ง มีเส้นสีดำพาดกลางหลัง ลูกกระทิงขนาดเล็กจะยังไม่มีถุงเท้าเหมือนกระทิงตัวโต มีความยาวลำตัวและหัว 250 - 300 เซนติเมตร หาง 70 - 105 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ 170 - 185 เซนติเมตร น้ำหนัก 650 - 900 กิโลกรัม โดยตัวผู้มีน้ำหนักมากกว่าตัวเมีย มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของจีน, อินเดีย, ภูฐาน, เนปาล, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น