งานที่ครูกำหนด


ภัยธรรมชาติ
         ภัยธรรมชาติ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ เช่น เปลือกโลกเคลื่อนไหว หรือมนุษย์ได้ทำให้มันเกิดขึ้นมา โดยการทำลายโลกที่เราอยู่อาศัยมากมาย ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน สภาพอากาศแปรปรวน โดยมนุษย์จะทิ้งขยะ ทำให้ต้องเผาขยะและเกิดโลกร้อน หรือวิธีอื่นๆ  ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางอย่างร้ายแรงน้อย บางอย่างร้ายแรงมากซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การเกิอุทกภัยหรือน้ำท่วม การเกิดพายุ การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด การเกิดไฟป่า การเกิดสึนามิ เป็นต้น
ภัยพิบัติที่เกิดและวิธีทำตัวให้เหมาะสม

1.วาตภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุลมแรงแบ่งได้ 2 ชนิด
  1.1 วาตภัยจากพายุฤดูร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เกิดจากกระแสอากาศร้อนยกขึ้นเบื้องบนอย่างรุนแรง และรวดเร็ว เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บทำความเสียหาย ได้ในบริเวณเล็กๆ ช่วงเวลาสั้นๆ ความเร็วลมประมาณ 50 กม./ชม. ทำให้สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์และสัตว์ได้
   1.2 วาตภัยจากพายุหมุนเขตร้อนจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เป็นพายุที่เกิดขึ้นเหนือทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกในเขตร้อน มีศูนย์กลางประมาณ 200 กม. มีลมพัดเวียนรอบศูนย์กลางทิศทวนเข็มนาฬิกา ศูนย์กลางเป็นวงกลมประมาณ 15-60 กม. เรียกตาพายุ มองเห็นได้จากภาพเมฆดาวเทียม เมื่อเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามทำความเสียหายให้บริเวณที่เคลื่อนผ่าน ตามลำดับความรุนแรงของพายุแต่ละชนิด 


  การป้องกันพายุฤดูร้อน

* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา

* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง

* ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ
* ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
* ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง


2.อุทกภัย คือภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน เเผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ แบ่งได้ 2 ชนิด

   2.1 อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินดูดซับไม่ทัน น้ำฝนไหลลงพื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน
สะพาน ชีวิต ทรัพย์สิน
   2.2 อุทกภัยจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำในแม่น้ำ ลำธารล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภค และพืชผลการเกษตร


การป้องกันอุทกภัย
*
 ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
*
 สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
*
 ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
*
 เตรียมน้ำดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
*
 ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
*
 เตรียมพร้อมเสมอเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพไปที่สูง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และฝนตกหนักต่อเนื่อง
*
 ไม่ลงเล่นน้ำ ไม่ขับรถผ่านน้ำหลากแม้อยู่บนถนน ถ้าอยู่ใกล้น้ำ เตรียมเรือเพื่อการคมนาคม
*
 หากอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ป้องกันโรคราด ระวังเรื่องน้ำและอาหาร ต้องสุก และสะอาดก่อนบริโภค


  3.ทุพภิกขภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก ฝนแล้ง ไม่ตกตามฤดูกาล มีสาเหตุจาก พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศไทยน้อย ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังอ่อน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อน เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน หรือเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญรุนแรง ทำให้ฝนน้อยกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตการเกษตรเสียหาย ขาดน้ำ เหี่ยวเฉา แห้งตายในที่สุด โรคพืชระบาด คุณภาพด้อยลง อุตสาหกรรมเกษตรเสียหาย ขาดแคลนอุปโภค บริโภค กระทบกับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
สภาวะอากาศของทุกขภิกขภัย(ฝนแล้ง) 
http://www.cmmet.tmd.go.th/images/icon_arrow.gif ครึ่งหลังเดือนตุลาคม-กลางพฤษภาคม สิ้นฤดูฝน -ฤดูร้อน ฝนน้อยกว่าฤดูฝน
http://www.cmmet.tmd.go.th/images/icon_arrow.gif ปลายเดือนมิถุนายน-กลาง กรกฎาคม ฝนทิ้งช่วงมากกว่า 2 สัปดาห์ 

การป้องกันทุกขภิกขภัย
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น


4.แผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานใต้พิภพ ทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินเลื่อน ถล่ม และเกิดจากมนุษย์ เช่นระเบิดนิวเคลียร์

ขนาดแผ่นดินไหว
ผลกระทบ
จำนวนครั้ง/ปี
ริกเตอร์
รัศมีและความลึกไม่เกิน 100 กม.
รอบโลก
3.5-4.2
บางคนรู้สึกสั้นสะเทือน
30000
4.3-4.8
หลายคนรู้สึกสั่นสะเทือน
4800
4.9-5.4
เกือบทุกคนรู้สึกสั่นสะเทือน
1400
5.5-6.1
อาคารเสียหายเล็กน้อย
500
6.2-6.9
อาคารเสียหายปานกลาง
100
7.0-7.3
อาคารเสียหายรุนแรง
15
ตั้งแต่ 7.4
อาคารเสียหายรุนแรง
4

แผ่นดินไหว
ข้อควรปฏิบัติ ก่อน/ขณะ/หลัง เกิดแผ่นดินไหวอันดแผ่นดินไหว
http://www.cmmet.tmd.go.th/images/icon_arrow.gif เตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล อุปโภค บริโภค กรณีฉุกเฉิน
http://www.cmmet.tmd.go.th/images/icon_arrow.gif เตรียมพร้อม สมาชิกในครอบครัว วางแผนอพยพหากจำเป็น
http://www.cmmet.tmd.go.th/images/icon_arrow.gif ไม่วางของหนักบนชั้นสูงๆ ยึดตู้หนักไว้กับผนังห้อง






     ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราควรสนใจ เนื่องจากมันมีความเกี่ยวข้องกับเราทุกคน ถ้าเราไม่ดูเเลธรรมชาติ ก็อาจเกิดภัยพิบัติที่ทำให้ประเทศเสียหาย ซึ่งยิ่งนับวัน ก็ยิ่งทวีความรุนเเรงเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ตัวอย่างก็เห็นได้จากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในไทย เเผ่นดินไหวในญี่ปุ่น รวมไปถึงจังหวัดระนองบ้านเกิดของข้าพเจ้าด้วย ซึ่งถ้าไม่ดูเเลธรรมชาติ คำทำนาย 2012 อาจเป็นจริงก็ได้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น